ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นายฐิติวัฒน์ มนฉันทะ ในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ สอนโดย อาจารย์ประภาช วิวรรธมงคล ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดและเพิ่มเติมเนื้อหาของตนเองเพื่อการศึกษาได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ


ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็นนวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่าแม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1.
ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ โสตทัศนศึกษานั่นเอง
2.
ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1
คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2
วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3
เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4
สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2.
การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3.
การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4.
พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1.
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
-
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-
เครื่องสอน (Teaching Machine)
-
การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
-
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
-
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
-
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-
การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
-
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
-
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-
การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
-
การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
-
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
-
ชุดการเรียน
iนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา
iนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
· E-learning
ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึงการเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
ผู้ให้ข้อมูล : อรรคเดช โสสองชั้น

นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
  นอร์ดและทัคเคอร์ (Nord & Tucker,  1987) อธิบายว่า นวัตกรรม หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม (Radical Innovation) โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief), ตลอดจนระบบค่านิยม (value system) รูปแบบเดิมๆ ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น อินเตอร์เน็ท จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า อาทิเช่น ระบบไปรษณีย์
ฮิวซ์ (Hughes,  1971 อ้างถึงใน กีรติ ยศยิ่งยง,  2552) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนตามลำดับ คือ การคิดค้น การพัฒนา และนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
โรเจอร์ส (Rogers,  1983) ได้ให้ความหมายว่านวัตกรรม คือ ความคิด           การกระทำ หรือสิ่งที่บุคคลหรือคนกลุ่มหนึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งใหม่ โดยอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นสิ่งใหม่นับตั้งแต่เริ่มใช้หรือถูกค้นพบครั้งแรกหรือไม่ก็ตาม ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลรับรู้ว่าเป็นของใหม่หรือไม่ โดยความเห็นของบุคคลเองจะเป็นผู้ตัดสินการตอบสนองของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น ถ้าบุคคลเห็นว่าความคิดนั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับตน ความคิดนั้นก็เป็นนวัตกรรม
นวัตกรรมคือ เครื่องมือเฉพาะด้านของผู้ประกอบการ ที่มีความสามารถในการผลิกผันโอกาสไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแต่ละธุรกิจ ซึ่งสามารถจะที่จะนำเสนอต่อผู้ให้สามารถ เรียนรู้ และ ฝึกฝนได้สรุป  นวัตกรรม    หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม   

ในยุคเศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้และกระแสการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งโดยมีรากฐานบนองค์ความรู้ นวัตกรรม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบัตร ปัจจุบันองค์กรและบริษัทส่วนใหญ่พยายามที่จะมุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญา นวัตกรรม และรวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าทุนในรูปแบบเดิม เช่น ที่ดิน โรงงาน หรือเครื่องจักร โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างมูลค่าหรือรายได้และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญามิใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องถึงการวางแผน การบริหารจัดการ การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร 

ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนภายในประเทศได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมมากขึ้น โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันส่วนหนึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม หากธุรกิจใดมีการทำนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผลที่ธุรกิจจะได้รับอย่างเห็นได้ชัดคือความสามารถในการลดต้นทุนและความสามารถในการเพิ่มยอดขายหรือขยายกิจการ เนื่องจาก นวัตกรรมมีความสำคัญต่อองค์กรและประเทศมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานผู้สนับสนุนนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ได้แก่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (IPA) เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเครือข่ายด้านนวัตกรรม ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากลาโหม ศูนย์วิจัยชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป

•       
การพัฒนานวัตกรรมของไทยในอดีต นักประดิษฐ์ นักวิจัย ผู้ดำเนินงานสร้างความรู้ด้วยการวิจัยมีผลตอบแทนต่ำ แต่การลอกเลียนแบบอย่างสร้างสรรค์เป็นวิธีการที่ให้ผลตอบแทนสูง และธุรกิจไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมทำวิจัยโดยอยู่ในขั้นตอนการสร้างสมขีดความสามารถทางเทคโนโลยี

•       
ภาพรวมนวัตกรรมของไทยในปัจจุบัน ระบบวิจัยและพัฒนาไม่สามารถแยกออกจากระบบนวัตกรรมโดยรวมได้ มีเอกชนเป็นศูนย์กลางของระบบนวัตกรรม ภาครัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันเฉพาะทาง และหน่วยงานให้ทุนเป็นผู้สนับสนุน การสร้างนวัตกรรมเริ่มมีการพัฒนาภาคเอกชนและหน่วยงานสนับสนุนให้มีขีดความสามารถและมีแรงจูงใจไปพร้อมๆ กัน และการสร้างนวัตกรรมเริ่มปรับตัวจากความต้องการของผู้บริโภค (Demand Pull) มากขึ้นจากเดิมที่มุ่งเน้นด้านความต้องการของผู้วิจัย (Supply Push)

•       
ลักษณะปัญหาของธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยคือผลิตภาพต่ำ ภาครัฐและผู้ประกอบการเริ่มมองเห็นปัญหา และเริ่มดำเนินการเพิ่มผลิตภาพโดยกระบวนการนวัตกรรมจากความรู้เดิมที่มีอยู่ ได้แก่ การลดของเสียจากระบบคุณภาพ ยกระดับคุณภาพแรงงาน นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้หรือปรับปรุงด้านวิศวกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างความรู้ใหม่จากการวิจัยและพัฒนา

•       SMEs
เป็นกิจการที่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในการแข่งขัน เนื่องจากจุดเด่นของ SMEs คือความคิดสร้างสรรค์และเอกลักษณ์ในสินค้าบริการที่แตกต่าง โดยใช้ทักษะเฉพาะตัวของผู้ประกอบการสร้างสรรค์ SMEs เป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมมีปริมาณการผลิตไม่มากพอที่จะได้เปรียบด้านความประหยัดจากขนาดเหมือนธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่แตกต่างจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับกิจการ

•       
ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs ได้รับแรงผลักดันจากภาครัฐในการหาวิธีการบริหารจัดการด้านเทคนิคการผลิต โดยนำนวัตกรรมมาช่วยในการยกระดับสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามากขึ้น

•       
จากผลการสำรวจขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2550” ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า

o       
การสร้างนวัตกรรมนำไปสู่การขยายตลาด การสร้างตลาดใหม่ สามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ

o       
แหล่งความรู้ทางนวัตกรรมส่วนใหญ่มาจากลูกค้า อินเทอร์เน็ต งานแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย เป็นต้น

o       CEOs
ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนานวัตกรรม เชื่อมั่นว่า นวัตกรรมจะนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งจากการขยายตลาด หรือสร้างตลาดใหม่ ในอนาคตบริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีแผนการลงทุนด้านนวัตกรรม และพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีต่อวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคตของไทยในการที่องค์กรจะสร้างนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

o       
บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง (ได้แก่ อุตสาหกรรมธุรกิจชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสมุนไพร อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการออกแบบและการสร้างตราสินค้า อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตร) ส่วนใหญ่จะดำเนินกิจกรรมนวัตกรรมในบริษัท ดังนี้ ปรับปรุงกระบวนการเดิม พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าทดแทนคู่แข่งในตลาด

การผลิต

1.
ธุรกิจชีวภาพ (Bio-Business)

ไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างสูง ประกอบกับความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของบุคลากรวิจัยในประเทศ จึงทำให้มีศักยภาพสูงในการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ จากการวิเคราะห์สถานภาพในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจชีวภาพของประเทศไทย ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของภาครัฐ อาทิ กรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย และยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจชีวภาพมี 2 สาขา ได้แก่

1.1   
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ปี 2547–2554 ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกิดใหม่อีกไม่น้อยกว่า 100 บริษัท มีการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศปีละไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาทิ กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรมคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1.2   
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Products)

       
ประเทศไทยมีศักยภาพสูงทางด้านเกษตรกรรมต่างๆ กอปรกับแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของผู้บริโภคทั่วโลกที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในการสร้างมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี แนวทางหนึ่งในการสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมาก คือ การนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและฟังก์ชันนัลฟูด (Nutraceutical & Functional Food) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง (Pharmaceutical & Cosmeceutical) เช่น สารอัลฟา-พีเอสพี และผงไหม เป็นต้น

2.
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry)

ปัจจุบัน ประชาคมโลกมีความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันมีสาเหตุจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากขึ้น ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ได้หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนกันอย่างจริงจังมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากนโยบายการสนับสนุนต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ภาครัฐได้กำหนดสาขายุทธศาสตร์เชิงเศรษฐนิเวศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการบริการใหม่ใน 3 สาขา ประกอบด้วย

2.1   
พลังงานสะอาด (Clean Energy)

จากการเจริญเติบโตของประเทศไทยทำให้มีการใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศ ปีละกว่า 300,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้การเติบโตของประเทศยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากของเสียทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน จึงมีความจำเป็นต้องมีนวัตกรรมทั้งเชิงเทคโนโลยี และการบริหารจัดการเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว

2.2   
วัสดุชีวภาพ (Bio-Based Material)

       
จากกระแสความตื่นตัวด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลก โดยเฉพาะการนำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความจำเป็นในการสร้างสรรนวัตกรรมด้านวัสดุชีวภาพ ที่สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
บรรจุภัณฑ์อาหาร อิเล็กทรอนิค หรือชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

2.3   
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)

       
เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นที่หลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ แต่ขณะเดียวกัน ก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืช และสัตว์เลี้ยง ปัจจุบัน ความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

3.
การออกแบบเชิงนวัตกรรม (Design & Solutions)

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมนั้น คือ ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลากหลายสาขา เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อย่างไรก็ตาม การออกแบบเชิงนวัตกรรมจะมีศักยภาพต่อผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับการสร้างตราสินค้า

3.1   
ซอฟต์แวร์และแม็คคาทรอนิกส์ (IT & Mechatronics)

       
เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล การติดตามและประมวลผล การสื่อสารข้อมูล รวมทั้งซอร์ฟแวร์สำหรับการควบคุมและจัดการระบบ มาพัฒนาให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมการจัดการระบบการให้บริการ ธุรกิจนวัตกรรมการใช้และการดูแลข้อมูล

       
แม็คคาทรอนิกส์ เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จาก 3 สาขาประกอบด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเลคทรอนิกส์และวิศวกรรมซอฟแวร์ เพื่อสร้างเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ทำงานแบบอัตโนมัติที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น แขนกลสำหรับงานเชื่อมและงานเคลื่อนย้ายวัตถุ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น

3.2   
การแก้ปัญหาด้วยนาโนเทคโนโลยี (Nano-Solutions)

       “
นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีกระแสใหม่ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และไต้หวัน แม้แต่ประเทศไทยได้มีการตื่นตัวด้านนาโนเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2549-2556” หรือการพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยี เช่น เสื้อซิลเวอร์นาโน เป็นต้น

3.3   
การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงเทคโนโลยี (Product Design)

       
การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้น การออกแบบนำเทคโนโลยีเป็นการออกแบบผลงานผู้บริโภคสนใจและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสำหรับยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ นวัตกรรมและการออกแบบอย่างสร้างสรรค์เป็นการออกแบบที่ประสานองค์ความรู้ด้านการออกแบบเชิงเทคโนโลยี (Technology Design) การออกแบบทางศิลปะ (Artistic Design) และการสร้างตราสินค้า (Branding) ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและการจัดการ อันเป็นการบูรณาการองค์ประกอบที่เหมาะสมเข้าด้วยกันสำหรับการพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น


การตลาด

•         
ในปี 2550 โครงการนวัตกรรมที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ให้การสนับสนุน มีจำนวนทั้งสิ้น 87 โครงการ จำแนกเป็นโครงการสาขาธุรกิจชีวภาพ (เทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ) 23 โครงการ สาขาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (พลังงานสะอาด วัสดุชีวภาพ และเกษตรอินทรีย์) 13 โครงการ และสาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรม (ซอฟต์แวร์และแมคาทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี และการออกแบบผลิตภัณฑ์) 51 โครงการ โดยมีวงเงินสนับสนุนทั้งในด้านวิชาการและการเงินรวม 117,331,099 บาท ซึ่งได้ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 1,031,748,862 บาท

•         
ในปี 2549 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินการสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการนวัตกรรม
ทั้งในรูปแบบของการสนับสนุนทางด้านวิชาการและการเงินเป็นจำนวน 85 โครงการ โดยให้การสนับสนุนบริษัทเอกชนเป็นจำนวนเงินรวม 76,644,700 บาท ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 3,132,159,650 บาท

•         
ในปี 2548 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนโครงการนวัตกรรมจำนวน 77 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 99,469,950 บาท ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,549,686,959 บาท



กิจกรรมส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมภายในประเทศ อาทิ

•         
งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย (TechnoMart & InnoMart) ประจำทุกปีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีการตลาดของภาครัฐประการหนึ่งซึ่งสามารถนำผู้ประกอบการพบผู้ผลิตเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยผู้ประกอบการคนไทยได้พบกับผู้ผลิตเทคโนโลยีและผู้พัฒนานวัตกรรมของคนไทยโดยตรง โดยผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีจะได้รับรู้ เข้าใจ และสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่หน่วยงานทุกส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และสมาคมองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้นได้นำไปใช้อันเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป

•         
โครงการ "InnoOK Member Card - บัตรสมาชิกอินโนโอเค" เพื่อสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิกผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรม ให้ได้แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและความร่วมมือในด้านต่างๆ อีกทั้งสามารถเข้ารับการบริการหรือการสนับสนุนจากภาครัฐโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความพร้อมให้กับสมาชิกในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างหรือบริหารจัดการธุรกิจ

•         
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปี 2551 เป็นปีที่ 3 เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศและวางรากฐานให้กับวัฒนธรรมนวัตกรรม

•         
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อนวัตกรรม อัตราดอกเบี้ย 0% เงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อโครงการ ในช่วง 3 ปีแรกของการลงทุน เพื่อเพิ่มโอกาสการต่อยอดธุรกิจให้ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมและกระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน

ปัญหาอุปสรรค

•         
การเข้ามาของสินค้าจากประเทศคู่แข่ง ในปี 2550 ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs บางรายยังปรับตัวไม่ทัน แตกต่างจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่สามารถนำเทคนิคการบริหารจัดการด้านการผลิตรวมทั้งนวัตกรรม เข้ามาช่วยบริหารต้นทุนสินค้าและปรับกลยุทธ์การแข่งขัน

•         
การเปิดเสรีการค้ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย SMEs ควรเปิดรับข้อมูลเพื่อปรับตัวรับกับสถานการณ์การแข่งขันเสรีให้มากขึ้น จากที่ไม่เปิดเผยตัว หน่วยงานรัฐหลายแห่งทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน SMEs บริการให้คำปรึกษา มีศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ร่วมกับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โครงการผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น

•         
ปี 2551 ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ จากปัจจัยแวดล้อมที่เป็นผลจากภาวะราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกที่เป็นกลุ่ม SMEs ซึ่งกลุ่มผู้ส่งออกไทยอาจจะต้องมีการปรับตัว เนื่องจาก การแข็งค่าของเงินบาทไทยสูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ผู้ส่งออก SMEs ต้องสร้างองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาค

ข้อคิดจากผู้ประกอบการ SMEs ด้านนวัตกรรม

•         SMEs
ควรสร้างความแตกต่างและพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นช่องว่างที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดยังคิดไม่ได้หรือไปไม่ถึง

•         
การจดสิทธิบัตร สามารถดำเนินการได้ทันที กรมทรัพย์สินทางปัญญา สามารถเป็นเครื่องมือสกัดกั้นคู่แข่งขันทางธุรกิจได้ เนื่องจากได้รับความคุ้มครองทางกฏหมาย

•         
การเริ่มต้นดำเนินการตลาดควรเลือกเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่น่าจะมีความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ก่อน จากนั้นจึงขยายไปยังลูกค้ากลุ่มอื่นๆ

•         
การดำเนินงานจัดทำสินค้าเชิงนวัตกรรม ควรคำนึงถึงสายป่านที่มีหรือมีแหล่งเงินทุนสำรองสนับสนุน

การสนับสนุนจากภาครัฐ

มาตรการ 1: ปรับแรงจูงใจของหน่วยงาน

•           
มาตรการจูงใจด้านการเงิน (Financial Incentive) เช่น เงินให้เปล่า เงินกู้ สิทธิทางภาษีแก่เอกชน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม

•           
นำระบบข้อตกลงเป้าหมายบริการสาธารณะ (Public Service Agreement) มาใช้กับหน่วยงานสนับสนุนภาครัฐ

•           
ลดการอุดหนุนทางการเงินโดยตรงแก่หน่วยงานสนับสนุนภาครัฐ และปรับการให้การอุดหนุนสู่ระบบแข่งขัน

มาตรการ 2: ปรับแรงจูงใจของบุคคล

•           
ให้กรรมสิทธิ์หรือจัดสรรประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักประดิษฐ์

•           
ปรับระบบประเมินผลและให้รางวัล (Rewarding System) เช่น ส่วนแบ่งรายได้หรือโบนัสแก่บุคลากรตามผลงานในการให้บริการนวัตกรรมแก่เอกชน

มาตรการ 3: สร้างขีดความสามารถองค์กร

•           
ให้บริการคำแนะนำด้านนวัตกรรม เช่น การบริหารทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร ฯลฯ แก่ธุรกิจ

•           
ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานรัฐเข้าสู่ระบบจัดการที่ดี (Best Practices)

•           
ฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานสนับสนุน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถองค์กรด้วยแนวคิดใหม่

ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย



ตารางสรุปรูปแบบการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมจากภาครัฐ

รูปแบบการสนับสนุน
 
ลักษณะโครงการ
 
เงื่อนไขการสนับสนุน
 
หลักทรัพย์ค้ำประกัน
 
วงเงินสูงสุดต่อโครงการ
 
ระยะเวลาการสนับสนุน

ด้านวิชาการ
 
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและการประสานงาน

การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษา การจัดทำแผน ธุรกิจ เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรม
 
เบิกจ่ายย้อนหลัง (Reimbursement)

สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามจ่ายจริง (ตามความเห็นชอบของ สนช.)
 
ไม่มี
 
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
ไม่เกิน 3 ปี

นวัตกรรมดี... ไม่มีดอกเบี้ย
 
โครงการนวัตกรรมที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของกระบวนการผลิตจริง

โครงการที่ขยายผลจากการสร้างต้นแบบ หรือการทดสอบนำร่องและพัฒนาออกสู่ตลาดในระยะแรก
 
สนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะเวลาหนึ่งให้แก่โครงการนวัตกรรมโดยจ่ายให้แก่สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ
 
เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ
 
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
ไม่เกิน 3 ปี

แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน
 
โครงการนวัตกรรมในขั้นตอนของการทำต้นแบบ (prototype) หรือทดสอบนำร่อง (pilot scale)

โครงการนวัตกรรมที่อยู่ในระยะของการทดสอบยืนยันความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี จากการต่อยอดงานวิจัยพัฒนา และสิ่งประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรที่ผ่านการรับรอง
 
ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องลงทุนในโครงการนวัตกรรมในรูปของเม็ดเงิน (in-cash) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการ

เบิกจ่ายย้อนหลัง

สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สนช.
 
ไม่มี
 
ไม่เกินร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายโครงการ ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
ไม่เกิน 3 ปี

ทุนเครือข่ายวิสหกิจนวัตกรรม
 
โครงการนวัตกรรมที่มีลักษณะการพัฒนาในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม สมาคม จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด ที่มีกลุ่มการดำเนินงานครบทั้งกระบวนการทางธุรกิจ
 
เบิกจ่ายย้อนหลัง

สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สนช.
 
ไม่มี
 
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
ไม่เกิน 3 ปี

ร่วมลงทุนธุรกิจนวัตกรรม
 
โครงการนวัตกรรมที่มีความเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่โดดเด่นมีศักยภาพสูง สามารถเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ

โครงการนวัตกรรมที่เกิดจากการริเริ่มพัฒนาร่วมกันกับ สนช. และสามารถพัฒนาเป็นโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์
 
เป็นการร่วมลงทุนระหว่างผู้เสนอโครงการ สถาบันลงทุนและ สนช. โดย สนช.และสถาบันร่วมลงทุนจะลงทุนร่วมไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนหลังการเข้าร่วมทุน และ สนช. จะร่วมลงทุนในสัดส่วนไม่เกินการร่วมลงทุนของสถาบันร่วมลงทุน
 
ไม่มี
 
ไม่เกิน 25 ล้านบาท
 
ไม่เกิน 7 ปี

 
ข้อเสนอแนะด้านกลยุทธ์การปรับปรุงระบบจูงใจทางการเงิน

•         
ควรครอบคลุมกิจกรรมด้านเทคโนโลยีทั้งหมดในลักษณะบูรณาการ (Integrated) ตามความต้องการของธุรกิจ

o       
ควรรวมการวิเคราะห์ความต้องการ การทำ Feasibility Study การเลือกเครื่องมือ การรับคำปรึกษา การซื้อเทคโนโลยี กิจกรรมคุณภาพ การพัฒนาทักษะ การออกแบบ และการวิจัยพัฒนา

o       
ปรับรวมกลไกในการให้การสนับสนุนให้เป็นหนึ่งเดียว หรือเหลือน้อยที่สุด  หรืออย่างน้อยต้องมีหน่วยงานให้บริการข้อมูลมาตรการต่างๆ แบบ One Stop

•         
จำกัดเป้าหมายการอุดหนุนไปยังอุตสาหกรรม ธุรกิจและกิจกรรมที่มีผลตอบแทนสังคมสูงสุด

o       
ควรกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้การสนับสนุนหรือกำหนดให้ธุรกิจต้องชี้ให้เห็นว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอนาคต

o       
ธุรกิจ SME ควรเป็นเป้าหมายหลักในการอุดหนุน

o       
การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะควรได้รับความสำคัญที่สุด

•         
บรรษัทข้ามชาติ: ควรจำกัดขอบเขตการสนับสนุนที่ชัดเจน เช่น เฉพาะการฝึกอบรมพนักงานทักษะที่ถ่ายทอดไปกิจการอื่นได้

•         
ธุรกิจไทย: ให้การสนับสนุนทางการเงินเฉพาะบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีอนาคต ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีการส่งให้คณะกรรมการพิจารณา

•         
สถาบันการศึกษา-วิจัย: ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเข้มงวด เช่น มหาวิทยาลัยต้องปรับปรุงหลักสูตร และสถาบันวิจัยของรัฐต้องมีโครงการร่วมมือกับเอกชน

ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

แนวโน้มนวัตกรรม

•         
ด้านการออกแบบและสร้างตราสินค้า

ประเทศไทยในอนาคต มีแนวทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีการนำวัตถุดิบเหลือจากการเกษตรมาใช้อย่างแพร่หลายขึ้น เช่น ชานอ้อย มาเพิ่มมูลค่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและยังสามารถใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและโฟมได้ ผลิตภัณฑ์ถุงผ้านาโนเหมาะสมกับการใช้งานผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยีจึงสามารถใช้ทดแทนถุงพลาสติกสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และแปรงสีฟันพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกจากด้ามแปรงสีฟันที่ใช้แล้ว แนวโน้มการออกแบบและสร้างตราสินค้าในยุคนี้จะเน้นเรื่องวัตถุดิบธรรมชาติที่หมุนเวียนเกิดขึ้นใหม่ได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานในการผลิตต่ำ ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่

•         
ด้านผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร

ประเทศไทยส่งออกอาหารมีมูลค่าประมาณ 5-6 แสนล้านบาทต่อปี อุตสาหกรรมอาหารเกี่ยวข้องกับเกษตรกรและแรงงานมากกว่า 20 ล้านคน นวัตกรรมจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในยุคเศรษฐกิจนี้ การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพ (Neutraceutical) อาหารที่มีการออกแบบพิเศษเฉพาะกลุ่ม (Designed Food) อาหารพร้อมบริโภค (Ready to Eat) และผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic Food) มีแนวโน้มการอาศัยพื้นฐานการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ เทคโนโลยีทางชีวเคมี ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำผลไม้ 100% ที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส สารสกัดจากยีสต์ อูมามินเพื่อใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารแทนผงชูรส กะทิธัญพืช กะทิเข้มข้น เนื้อโคธรรมชาติ และส้มโออินทรีย์ เป็นต้น

•         
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย ด้านความบันเทิงรวมถึงด้านความมั่นคง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นพื้นฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่กระจัดให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน แนวโน้มการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การสื่อสารข้อมูลข้ามข้อจำกัดทางกายภาพ ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องผูกติดกับสถานที่หรือรูปแบบเดิม เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) ทำให้การพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์อันทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อดิจิตอลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่ดีขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง ทำให้ผู้บริโภคสามารถแปลง จัดเก็บ และใช้งานข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลได้อย่างง่ายดาย

นวัตกรรม คือ อะไร?
บทความด้านการบริหารงานโทรคมนาคมของผมนั้น อยากจะค่อยๆ แอบโยงถึงการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมพ่วงไปด้วยเช่นกัน เพราะราวกับว่าแอบมีแนวคิด ทฤษฎีมากมาย ที่ตกหล่นในห้วงประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษยชาติอีกมากมายที่ขาดคนนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาชาวบ้าน
ในชีวิตการทำงานของผมที่ได้พบปะผู้คนหลากหลายประเภท และหนึ่งในนั้นผมได้เคยสัมผัสกับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง ในงานที่เราหารือกันเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาทางไกลที่คนไทยพัฒนาขึ้น ด้วยความที่ผมกระตือรือร้นถึงประโยชน์ของโครงการ และด้วยการเคยเรียนจากวิทยาลัยนวัตกรรมมา ผมก็เรียกโครงการนั้นว่า นวัตกรรมการศึกษาทางไกล
ท่านผู้อ่านอาจจะไม่เชื่อว่าสิ่งที่ผมคิดนั้นมันแย่เพียงใด ผมคิดว่า หนึ่งในสาเหตุที่ประเทศเราเจริญช้าด้านเทคโนโลยี นั้นอาจจะเป็นได้ว่าวัฒนธรรมเราต้องการผู้ใหญ่ (ผู้อาวุโส) มาบริหารองค์กรสำคัญๆ และองค์กรด้านเทคโนโลยีของชาติ ผมไม่ได้ปฏิเสธระบบอาวุโส และไม่ได้ไม่เห็นความสำคัญของผู้อาวุโส เพียงแต่ผมคิดแค่ว่า ถึงแม้ประเทศเรามีวัฒนธรรมที่อยากให้ผู้ใหญ่ปกครอง อยากให้ผู้ใหญ่นำพา แต่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบันก็คง ต้องการผู้ใหญ่ที่ Update ตลอดเวลาเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติคงยาก อันที่จริงเราน่าควรจะลองให้คนรุ่นใหม่ที่เหมาะสมเป็นผู้พัฒนาองค์กรก้าวเดินด้านเทคโนโลยีดูมั่งก็น่าจะดีนะครับ ส่วนคำว่าเหมาะสมคงไม่ใช่คำว่าเรียนเก่งอย่างเดียวนะครับ ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าวิชาที่เรียนกันมา (ด้านเทคโนโลยี) คนละเรื่องกับการบริหารองค์กร บริหารโครงการ
กลับเข้าเรื่องนิดหนึ่งครับ แต่ผู้บริหารองค์กรด้านเทคโนโลยีของชาติท่านนั้น ถามผมว่าคุณรู้มั๊ย นวัตกรรมคืออะไร?” แล้วท่านก็ทำสีหน้าแสดงภูมิ ผมเดาในใจว่าท่านจะพูดอะไร คงเถียงแค่นิยามตามตัวหนังสือ โดยที่ท่านไม่สนใจ System หรือแนวความคิดในการพัฒนา ระบบการศึกษาทางไกล Animation ครั้งแรกของไทยเลย ผมลองถามตัวเองในใจว่า ท่านเปิดคอมพิวเตอร์เป็นหรือไม่?” ผมก็ตอบตัวเองในใจว่า คงไม่เป็นแน่ ผมก็จบเรื่องที่จะพูดเรื่องระบบ หรือแสงสว่างในการเดินหน้าด้านเทคโนโลยีของชาติ
ผมก็หมดเรื่องที่จะคุยกับท่านไป เพราะถ้ายิ่งระดมความคิด ไอเดีย ด้านเทคโนโลยีที่ท่านไม่รู้เรื่องคงไม่ดีแน่ ผมก็เกรงใจ และถือว่าเป็นความบกพร่องต่อการบรรยายของผมเอง แต่วันนี้ว่างๆ ผมก็มานั่งหาแค่คำนิยามทีทรงภูมิเพื่อเอาไว้สนทนากับผู้บริหารท่านนั้นให้ดูโก้หรู ส่วนคำว่านวัตกรรมสำหรับผม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือบริการที่มีความใหม่ในการนำมาทำเป็นธุรกิจได้....
พูดถึงสิ่งปรัดิษฐ์แล้วก็ต้องนึกถึงThomas Alva Edison นักประดิษฐ์ ชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียมากที่สุดคนหนึ่งของโลก มีสิทธิบัตรการประดิษฐ์กว่า 1,000 ฉบับ อาทิเช่น หลอดไฟฟ้า ฟิลม์ภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร หรือแม้แต่เก้าอี้ไฟฟ้า เป็นต้น

เขาเป็นนักประดิษฐ์คนหนึ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับตัวผม เพราะตอน .6 ผมก็ได้ค้นพบตัวเองแล้วว่า โตขึ้นอยากเป็นนักประดิษฐ์ และนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอันเป็นต้นแบบที่ผมอยากเอาเยี่ยงอย่างนั่นก็คือ เอดิสัน
ถึงแม้ผลงานด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าของ Edison โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลอดไฟฟ้าซึ่งถือเป็นผลงานการคิดค้นชิ้นเอกของเขา จะเป็นประดิษฐกรรมที่ดีเลิศเพียงใด แต่มันก็จะกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ธรรมดาๆ ชิ้นหนึ่งเท่านั้น หากไม่สามารถหาปลั๊กมาเสียบกับมันได้ ด้วยเหตุนี้เองทีมงานของ Edison จงคิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้น พร้อมๆ กับการสร้างมาตรฐานของ หลอดไฟฟ้า สวิทซ์และสายไฟควบคู่กัน
และในปี 1882 Edison สามารถเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกได้ในเมืองแมนฮัตตัน และสามารถส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟในพื้นที่นั้นได้กว่า 800 หลอดในเวลาเดียวกัน ภายหลังจากความสำเร็จของ Edisonจึงได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นอีกกว่า 300 แห่งทั่วโลก ในเวลาต่อมา
          Edison กล่าวว่า นวัตกรรม เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการเป็นแค่การจุดประกายความคิดอะไรใหม่ๆ ให้บังเกิดขึ้นมาเท่านั้น แต่มันยังเป็นกระบวนการของการทำให้ความคิดเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งคำจำกัดความของคำว่านวัตกรรมหรือ“Innovation” นั้น จึงมีอยู่หลายประการแต่ประเด็นสำคัญที่ทุกคำจำกัดความได้เน้นย้ำก็คือ นวัตกรรม เป็นความต้องการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้เสร็จสมบูรณ์ และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่คำว่าประดิษฐกรรม เท่านั้น
          ถ้าเราทำความเข้าใจแต่เฉพาะบางส่วนของกระบวนการทางนวัตกรรม มันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เราไม่ได้เต็มที่นักถึงแม้เราจะตั้งใจจะทำมันให้ดีที่สุดก็ตาม ดังคำกล่าวที่ว่า
ไม่ว่าเราจะเป็นนักประดิษฐ์ที่เก่งเพียงใด แต่มันก็ไม่ได้เป็นหลักประกันใดๆว่า ประดิษฐกรรมของเราจะประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ในทางตรงกันข้าม หากประดิษฐกรรมได้มีการผสมผสานการจัดการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านการตลาด การเงิน หรือองค์กร เข้าไปด้วยกันแล้ว แม้จะเป็นเพียงการคิดค้นกับดักหนูรุ่นใหม่ ก็สามารถสร้างความสนใจแก่คนทั่วทั้งโลกได้ไม่ยากนัก
ผมคุ้นๆ เหมือนเคยอ่านหนังสือตอนเด็กๆ เรื่องราวที่ เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เขาทำการทดลองถึง สามครั้งกว่าจะสำเร็จ แต่เขาบอกว่า เขาค้นพบวิธีการทดลองสร้างหลอดไฟฟ้าที่ไม่ประสบความสำเร็จเกือบสามพันครั้ง


What is Innovation?
นวัตกรรมคืออะไร?
                หนึ่งในปัญหาของการจัดการนวัตกรรม ก็คือความเข้าใจในนิยามของคำว่านวัตกรรมที่ชัดเจน และบ่อยครั้งที่มักจะสับสนกับคำว่าประดิษฐกรรม (Invention)” แต่เดิมนั้นคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation มีความเชื่อกันว่ามาจากรากศัพท์ในภาษาลาติน“Innovareซึ่งมีความหมายว่า ทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น แต่ในอีกมุมมองของบรรดานักเขียน นักวิชาการต่างคิดว่า คำว่า นวัตกรรมควรจะหมายถึงกระบวนการของการปรับเปลี่ยนโอกาส ไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ ที่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปได้” 
นอกจากนี้ คำว่านวัตกรรม ยังมีผู้ให้นิยามไว้อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

การใช้ประโยชน์จากแนวความคิดใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จ
นิยามโดย แผนกนวัตกรรม ของ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศอังกฤษ ปี 2004


นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม (Industrial Innovation) คือกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การผลิต การจัดการรวมไปถึงการดำเนินงานทางการค้า ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การนำผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ หรือถูกปรับปรุงใหม่ออกไปใช้ในท้องตลาดเป็นครั้งแรก
นิยามไว้ใน “The Economics of Industrial Innovation 2nd Edition“
ของ Chris Freeman (1982)


นวัตกรรม ไม่จำเป็นจะต้องสื่อถึงการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ออกสู่ตลาดเพียงอย่างเดียวแต่จะรวมไปถึง การก่อประโยชน์อย่างคุ้มค่าของการเทคโนโลยีที่แม้จะเป็นเพียงแค่การปรับปรุงอะไร บางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นิยามไว้ใน “Invention, Innovation, re-innovation and the role of the user " โดย Roy Rothwell และ Paul Gardiner (1985)


นวัตกรรมคือ เครื่องมือเฉพาะด้านของผู้ประกอบการ ที่มีความสามารถในการผลิกผันโอกาสไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแต่ละธุรกิจ ซึ่งสามารถจะที่จะนำเสนอต่อผู้ให้สามารถ เรียนรู้ และ ฝึกฝนได้
นิยามไว้ใน “Innovation and Entrepreneurship" ของ Peter Drucker (1985)


องค์กรที่จะสามารถรักษาศักยภาพในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยอาศัยผลของนวัตกรรม องค์กรนั้นจะต้องเข้าใจในนวัตกรรมในภาพกว้าง ซึ่งจะรวมไปถึง การเป็นเทคโนโลยีใหม่ และ วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีใหม่ๆ
นิยามไว้ใน “The Competitive Advantage of Nations" ของ Michael Porter (1990)


ธุรกิจทางนวัตกรรม เปรียบเสมือนกระบวนการที่มีชีวิต เป็นการรวบรวมทั้งแนวความคิดใหม่ การสร้างแรงจูงใจ และการเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความต้องการของลูกค้า
นิยามไว้ใน “DTI Innovation Lecture" ของ Richard Branson (1998)


                ประดิษฐกรรมที่มีชื่อเสียงใดๆ ก็ตามในศตวรรษที่ 19 โดยส่วนใหญ่แล้วท้ายที่สุดก็ไม่มีใครเอ่ยถึงชื่อของผู้ประดิษฐ์อีกเลย แต่ในทางกลับกันประดิษฐกรรมเหล่านั้นกลับถูกตั้งชื่อโดยผู้ประกอบการที่นำเอาประดิษฐกรรมเหล่านั้นไปทำตลาด ยกตัวอย่างเช่น การคิดค้นเครื่องดูดฝุ่นของนาย J. Murray Spengler ซึ่งแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ไม้กวาดไฟฟ้า (Electric Suction Sweeper)“ ซึ่งนาย Murray เองไม่มีความรู้เรื่อง เครื่องดูดฝุ่นเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่เขารู้ว่าควรจะทำตลาดและขายมันอย่างไรเท่านั้น หรือในอีกกรณีหนึ่ง ที่นาย Elias Howe ชาว Boston ผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าเครื่องแรกของโลกขึ้นในปี 1846 แต่ประสบปัญหาไม่สามารถจักรเย็บผ้าของเขาได้ แม้ว่าจะเดินทางไปขายถึง ประเทศอังกฤษก็ตาม เมื่อเขาเดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า สิทธิบัตรจักรเย็บผ้าของเขาถูกขโมยไป โดยนาย Isaac Singer และสามารถทำตลาดจนประสบความสำเร็จ แม้ว่า Isaac จะถูกกดดันให้ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตร แก่นาย Howe สำหรับจักรเย็บผ้าทุกตัวที่ขายได้ แต่ชื่อสำหรับผลิตภัณฑ์จักรเย็บผ้าที่คนส่วนใหญ่รู้จักและเรียกขานกัน ต่อมาก็คือ Singer ไม่ใช่ Howe แต่อย่างใด
 นวัตกรรมคือส่วนสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจ
(Innovation as a Core Business Process)

นวัตกรรม เปรียบเสมือนหัวใจของกระบวนการทางธุรกิจ ที่แสดงถึงความคิดริเริ่มประกอบกับการนำความคิดริเริ่มเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งกระบวนการทางนวัตกรรมนี้เอง จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งในบทนี้จะแสดงให้เห็นต่อไปว่า กระบวนการดังกล่าวยังมีส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆอีกหลายประการเช่น
·                     การค้นหา (Searching)
      เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาส และอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
·         การเลือกสรร (Selecting)
     เป็นการตัดสินใจเลือก สัญญาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
·          การนำไปปฏิบัติ (Implementing)
    เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่การแปลงสัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยผลของการดำเนินขั้นตอนที่สำคัญอีก4 ประการดังต่อไปนี้
1.       การรับ (Acquiring)
คือขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางการวิจัยและพัฒนา (R&D), การทำวิจัยทางการตลาด (Market Research) รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่นๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
2.       การปฏิบัติ (Executing)
คือขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวปฏิบัติงาน ภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะของการแก้ไขปัญหา (Problem – Solving) ตลอดเวลา
3.       การนำเสนอ (Launching)
คือการนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
4.       การรักษาสภาพ (Sustaining)
คือการรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันอาจต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาทำการการปรับปรุง แก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น(Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
·         การเรียนรู้ (Learning)
        เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษา และเรียนรู้ ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

สิ่งท้าทายอย่างหนึ่งที่องค์กรต่างต้องเผชิญคือ การพยายามค้นหาวิธีการที่จะจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ด้วยสถานการณ์ของการนำไปใช้แก้ปัญหานั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้วิธีการจัดการมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี เช่น บริษัทด้านเภสัชกรรม ต่างๆ มักจะมีวิธีที่ใช้สำหรับค้นคว้าหาผลลัพธ์ จากกระบวนการการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของตนเองเป็นหลัก หรือ ในบางครั้งอาจใช้วิธีการสรรหา สิทธิบัตรที่ตนเองต้องการด้วยก็ได้ ในขณะที่ หน่วยงานทางวิศวกรรกรรมขนาดเล็กๆ เช่นผู้รับเหมา มักจะให้ความสนใจกับวิธีการสัมฤทธิ์ผลเร็วที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ บรรดาผู้ค้าปลีกทั้งหลาย ซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำการวิจัยและพัฒนามากนัก มักจะเน้นหนักไปที่การสำรวจจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อหาแนวโน้มของความต้องการของลูกค้า ทำให้พวกเขาต้องเน้นวิธีการดำเนินงานด้วยวิธีทางการตลาด (Marketing) ค่อนข้างมาก ผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค (Consumer Goods Producer) ก็เช่นกัน เขาต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อนำออกสู่ตลาด ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, องค์กรทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือกระบวนการผลิต เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้า มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการออกแบบเป็นลำดับต้นๆ และจะเน้นหนักไปที่ การจัดการโครงการ และการผสมผสานงานจากหน่วยปฏิบัติการย่อยต่างๆให้เข้ากันอย่างเป็นระบบ หรือแม้แต่ หน่วยงานภาครัฐเองที่ต้องให้ความสำคัญกับกฏระเบียบทางสังคมและการเมืองเป็นลำดับแรกๆ เป็นต้น
                ถึงแม้ว่าธุรกิจหรือองค์กรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพียงไร แต่รูปแบบของกระบวนการทางนวัตกรรมในแต่ละขั้นนั้น ก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต่อไปในบทนี้ จะทำการศึกษาถึงคุณลักษณะของแต่ละขั้นในกระบวนการ ประกอบกับ หลักพื้นฐานของความแตกต่างดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้ละเอียดยิ่งขึ้น
                อย่างไรก็ตามการจัดการทางนวัตกรรมในมุมมองทั่วไปก็เปรียบเสมือน ความสามารถในการเรียนรู้ (Learn Capability) ที่แต่ละองค์กรควรต้องกระทำอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะให้ได้วิธีการและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองมากที่สุด ไม่ได้เป็นแค่เพียงการลอกเลียนมาจากแหล่งหนึ่งแหล่งใด แล้วนำมาใช้โดยตรงเลยเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และประยุกต์ใช้ให้สอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น