ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นายฐิติวัฒน์ มนฉันทะ ในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ สอนโดย อาจารย์ประภาช วิวรรธมงคล ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดและเพิ่มเติมเนื้อหาของตนเองเพื่อการศึกษาได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอน
           

 ครูผู้สอน: WHERE: การออกแบบการเรียนรู้

 W Where are we heading? เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
 H Hook the student through provocative entry points ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ 
E Explore and Enable การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้ 
R Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ 
E Exhibit and Evaluate การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง ออกแบบเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ลองวิเคราะห์ตัวอย่าง ๔ ตัวอย่างข้างล่างและดูว่าได้ชี้ให้เห็นประเด็นอะไรในเรื่องหลักสูตรและการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ 
 ตัวอย่างที่ ๑ ในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง “ความเข้าใจ” ครูมัธยมศึกษาคนหนึ่ง ได้จดบันทึกว่า ตอนฉันเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา ฉันมักจะนึกเสมอว่าสมองของฉันไม่ต่างอะไรจากที่พักระหว่างทางสำหรับข้อมูลที่ผ่านจากหูซ้ายออกหูขวา ฉันเป็นคน จำเก่งมาก จึงได้คะแนนเกียรตินิยม แต่ก็รู้สึกอายที่จะบอกว่า เพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยสนใจ เรื่องคะแนนมักจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนมากกว่าฉัน การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้ 1. ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
 2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา 3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้ 4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง 5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น 6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร 

ทฤษฎี การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) ซึ่งเป็นเนื้อหาที่รายวิชาได้นำเสนอไว้ ในสัปดาห์ที่ 3 โดยนำเสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบสรุปแล้ว อยู่ในกรอบของ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation) กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยส่วนตัว เมื่อได้รับมอบหมายจากภาควิชาให้รับผิดชอบสอนในรายวิชาใด ก็จะวางแผนการสอน สิ่งแรกที่ต้องทำ (เป็นข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) คือ ต้องส่ง แนวการสอนหรือแผนการสอน (Course Syllabus) ตลอดทั้งภาคเรียน ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง ในแต่ละสถาบัน แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นแผนการสอนโดยคร่าว ๆ ส่วนประกอบ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ทั่วไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์ ที่ประกอบด้วยจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา (หัวเรื่องหลักและหัวเรื่องรอง) กิจกรรมและวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน ชื่อตำราหรือหนังสื่อที่ใช้ประกอบ และ เกณฑ์การวัดและประเมินผล กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้ ผมคิดว่าเป็นกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพียงแต่ไม่ได้แบ่งแยกขั้นตอนให้ชัดเจน และบางขั้นตอนยังอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ผมลองวิเคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่ในการสอนที่ผ่านมา เชื่อมโยงกับทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุปได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ - การวิเคราะห์ความจำเป็น สำหรับวิชาที่จัดไว้ในหลักสูตร และเป็นวิชาที่เลือกให้นักศึกษาเรียน ส่วนนี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความจำเป็น ด้วยเหตุและผล อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร คำอธิบายรายวิชาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิชาการที่เปลี่ยนไป - การวิเคราะห์งานหรือการเรียนการสอน ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สอนต้องทำในรายวิชา โดยการแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก หัวเรื่องรอง โดยยึดกรอบคำอธิบายรายวิชาเป็นหลัก - การวิเคราะห์ผู้เรียน ส่วนใหญ่มักทำด้วยกระบวนการสั้น ๆ เช่น สอบถามความรู้พื้นฐาน บางครั้งอาจมีการประเมินผลก่อนเรียน แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนเท่าไรนัก ทั้งที่เป็นส่วนสำคัญมาก ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทางการเรียน แต่เนื่องจากมีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียน ผู้สอนไม่อาจออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ จึงออกแบบการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้อง - การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน โดยแบ่งเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชา และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบท 2) การออกแบบ (Design) คือ การออกแบบในส่วนของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบทหรือแต่ละสัปดาห์ เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 
3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านลักษณะนิสัย (Affective) ลำดับเนื้อหาในการสอน ระบุวิธีสอนหรือ กลยุทธ์ในการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการบรรยาย อภิปราย มอบหมายงาน (ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน และกำหนดวิธีการประเมินผล ทั้งหมดได้ออกแบบโดยกำหนดไว้ในแผนการสอนแล้ว แต่จะนำมาใช้ตามแผนได้ทั้งหมดหรือไม่นั้น บางครั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา (ถ้าสอนในชั้นเรียนปกติ และมีนักศึกษากลุ่มใหญ่) 
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา ได้แก่ การนำสิ่งที่คิดหรือออกแบบไว้มาใช้ ได้แก่ - การพัฒนาเนื้อหา กรณีไม่พัฒนาตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเอง ก็ใช้วิธีการเลือกหนังสือหรือตำราที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่ออกแบบไว้ - การพัฒนาสื่อ ที่สามารถทำได้ขณะนี้คือ สไลด์ประกอบการสอน เว็บไซต์แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม - การประเมินในขณะพัฒนา เป็นกระบวนการที่สำคัญ ผู้สอนมักไม่ค่อยได้นำมาใช้ เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินตรวจสอบ หรือใช้กระบวนการวิจัยสื่อทำการหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ 4) การนำไปใช้ (Implementation) คือ ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง โดยพยายามดำเนินการตามแผนการสอนหรือระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบไว้ 5) การวัดและประเมินผล (Evaluation) กระบวนการวัดและประเมินผลการสอน ส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินผู้เรียน (เพื่อตัดเกรด) คือ การสอบระหว่างเรียน การสอบปลายภาค การตรวจผลงานหรือโครงการที่มอบหมาย ยังไม่ได้เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุงผู้เรียนในขณะเรียน ผมคิดว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะเป็นการประเมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด มีข้อบกพร่องหรือไม่ ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใด แต่กระบวนการดังกล่าว อาจทำได้ค่อนข้างยาก และผู้สอนต้องทุ่มเทเวลาให้อย่างมาก จากประสบการณ์การสอนในระบบปกติที่กล่าวมา ผมคิดว่าหลายท่านที่เป็นผู้สอนอยู่ อาจมีกระบวนการคล้ายกับผม คือได้มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบไว้แล้ว โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ แผนการสอน (Course Syllabus) หรือแนวการสอน หลังจากได้ศึกษาทฤษฎีระบบการเรียนการสอนแต่ละแบบที่เสนอเนื้อหาในสัปดาห์นี้แล้ว ผมเองคิดว่าจะนำไปปรับปรุงขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยนำไปใช้กับ ระบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง ขณะนี้ผมเองกำลังทดลองใช้ Moodle LMS เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการรายวิชาอยู่ครับ (LearnTech.yru.ac.th) อีกประเด็นหนึ่งคือ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน นั้น ผมคิดว่าผู้สอนต้องทุ่มเทและเหนื่อยมากขึ้นครับ ถ้าจะให้ดีน่าจะ พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นลักษณะงานวิจัยชั้นเรียน จะได้ทั้งระบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพและได้ผลงานวิจัยด้วย ซึ่งผมเองกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งในการจัดการการเรียนการสอน สมาชิกท่านใดมีประสบการณ์ในด้านนี้ ยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามที่จะศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้
 • ศึกษาหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอนที่จะนำไปสู่การพัฒนาความเข้าใจ
 • ศึกษาการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design เพื่อแก้ปัญหาความไม่เชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรและการประเมินผล 
• นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับความเข้าใจใน ๖ ด้าน และความเชื่อมโยงกับหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอน • นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เน้น การแสวงหาความรู้ มากกว่าการปูพรมให้ครอบคลุม และมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในแนวคิดหลัก
 • ศึกษาแนวทางประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในระดับต่างๆ 
• คำนึงถึงความเข้าใจผิดของผู้เรียนที่เกิดขึ้นบ่อยๆในการออกแบบหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอน
 • นำเสนอรูปแบบในการออกแบบหลักสูตรและการประเมินผลที่เน้นการสร้างความเข้าใจของผู้เรียน
 • นำเสนอมาตรฐานในการออกแบบเพื่อประกันคุณภาพของหลักสูตรและการประเมินผล นิยามคำศัพท์ หนังสือเล่มนี้ให้คำจำกัดความแก่คำหลักที่ใช้ดังนี้ หลักสูตร เป็นพิมพ์เขียวเพื่อการเรียนรู้ที่เกิดจากการกำหนดมาตรฐานของเนื้อหาและมาตรฐานความสามารถของผู้เรียน (Content and performance standards) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการเรียนการสอนที่ได้ผล ดังนั้น หลักสูตร ตามความหมายที่ใช้ในเล่มนี้ จึงไม่ใช่กรอบกว้างๆของหลักสูตร หรือสรุปสาระเนื้อหาแต่เป็นแผนที่ชัดเจนพร้อมหน่วยการเรียนที่กำหนดขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ตลอดจน กิจกรรม และการประเมินผลไปสู่เป้าหมาย (หลักสูตรที่ดีจะต้องเขียนจากมุมมองผู้เรียน และผลที่พึงประสงค์ หลักสูตรจะต้องแจ่มชัดว่าผู้เรียนจะทำอะไร ไม่ใช่เพียงแต่กำหนดว่าผู้สอนจะทำอะไร) การประเมินผล (Assessment) หมายถึงกระบวนการเพื่อการตัดสินว่าได้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรหรือไม่ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งการสังเกต การพูดคุย การลงมือปฏิบัติ จนถึงการทดสอบ เป้าหมายการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดว่านักเรียนควรทำอะไรได้ ในระดับใด จึงผ่านเกณฑ์การประเมินว่าได้เกิดความเข้าใจ มาตรฐานเนื้อหาจะ กำหนดว่าควรสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระใดบ้าง แต่มาตรฐานความรู้ความสามารถจะกำหนดว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้ และต้องทำดีในระดับใดจึงถือว่าผ่านเกณฑ์ ความเข้าใจ ซึ่งเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ หมายความว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้มากกว่าความรู้ที่บรรจุในหนังสือเรียน หรือทักษะพื้นฐาน แต่ต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (insights) และมีความสามารถที่แสดงออกในผลงานและภายในบริบทต่างๆ หนังสือเล่มนี้ จะนำเสนอความเข้าใจในด้านต่างๆ จะแสดงให้เห็นว่า การมีความรู้และทักษะไม่ได้ส่งผลให้เกิดความเข้าใจโดยอัตโนมัติ ทั้งจะชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจผิดๆ ของผู้เรียนเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าที่เราคาดคิด และการประเมิน ความเข้าใจไม่อาจกระทำได้โดยผ่านการทดสอบแบบดั้งเดิม การออกแบบแบบย้อนกลับ Backward Design ครูทุกคนเป็นนักออกแบบ ภารกิจหลักในวิชาชีพครู คือ การออกแบบหลักสูตร ประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ออกแบบเครื่องมือประเมินความต้องการ และเครื่องมือประเมินผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ครูจำนวนไม่น้อยวางแผนการเรียนการสอนด้วยการเลือกหนังสือเรียน แผนการสอน และกิจกรรมที่ถูกใจ แทนที่จะออกแบบเครื่องมือเหล่านี้จากเป้าหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้ หนังสือเล่มนี้จึงเสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ โดยเริ่มจากเป้าหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน ทั้งจะไม่รอจนออกแบบการเรียนการสอน แล้วเสร็จจึงออกแบบการประเมินผล แต่จะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะต้องมีหลักฐานอะไร จึงจะถือว่าผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ ต่อเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมาย และหลักฐานจึงออกแบบการเรียนการสอน วิธีการนี้จึงจะช่วยให้ผู้สอนมีความชัดเจน ในเรื่องเป้าหมาย และมีความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและเป้าหมายที่พึงประสงค์ โดยสรุปการออกแบบแบบย้อนกลับจะมี ๓ ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย ที่พึงประสงค์ ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ในการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียน ควรรู้อะไร ควรมีความเข้าใจในเรื่องใด และควรทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ ควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืน ๑. แนวคิด หัวข้อ หรือ กระบวนการนั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็นเรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน และต้องเป็นเสมือนดุมล้อที่ยึดวงล้อไว้ เช่น การเรียนเรื่อง Magna Charter ข้อตกลงที่เป็นต้นแบบของการตรากฎหมาย ประเด็นหลักที่ผู้เรียนต้องเข้าใจคือกระบวนการกฎหมายที่จำกัดอำนาจของรัฐและประกันสิทธิของบุคคล หากไม่เข้าใจในหัวข้อของเรื่องนี้ ไม่ว่าจะจดจำรายละเอียดว่าเนื้อความเป็นอย่างไร ใครลงนามกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ตรงประเด็น ๒. แนวคิด หัวข้อ กระบวนการนั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ ผู้เรียนควรมีโอกาสผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้นๆเพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างไร ลองนึกถึงภาพว่าผู้ประกอบวิชาชีพในศาสตร์นั้นต้องทำอะไรบ้าง เช่น ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เขียนรายงานเพื่อรายงานต่อกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อค้นพบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยใช้หลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ การเรียนรู้ในสภาพจริงจะช่วยให้ผู้เรียนปรับ สถานภาพจากผู้เรียนที่รอรับความรู้ไปสู่ผู้เรียนที่มีส่วนในการสร้างความรู้ ๓. แนวคิด หัวข้อ และกระบวนการนั้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่ผู้เรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ที่ผู้เรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ๔. แนวคิด หัวข้อ กระบวนการใดที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีหลายหัวข้อ หลายกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประตู”ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่ผู้เรียนสนใจ จะช่วยทำให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับได้ วิธีการ Backward Design กำหนดให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผลครูจะเริ่มการวางแผนการเรียนรู้ด้วยการคิดถึงหลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผน การเรียนการสอน เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการเรียนการสอนได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้ 
๑. ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
๒. กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
 ๓. สื่อการสอนอะไรจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
 ๔. การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่ ความเข้าใจใน
 ๖ ด้าน เพื่อความชัดเจนว่า ความเข้าใจที่เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้คืออะไรหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะสามารถทำสิ่งดังต่อไปนี้ 
๑. Can explain สามารถอธิบายแนวคิด เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายเหตุผลและวิธีการ (Why and How) ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ก้าวเกินคำตอบเพียงผิด หรือถูก
 ๒. Can interpret สามารถแปลความให้เกิดความหมายที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจมี ต่อผู้เกี่ยวข้อง
 ๓. Can apply สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ต่างไปจากที่เรียนรู้มา
 ๔. Have perspective สามารถมองข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย
 ๕. Can empathize มีความละเอียดอ่อนที่จะซึมซับ รับทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง
 ๖. Have self-knowledge รู้จักตนเอง ตระหนักถึงจุดอ่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม อคติ ของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และความเข้าใจ ของตนเอง หนังสือเล่มนี้ให้รายละเอียดในการประเมินความเข้าใจแต่ละด้าน ซึ่งจะมีระดับความลุ่มลึกต่างกัน โดยได้เสนอเกณฑ์หรือ Rubric ในการประเมินอย่างชัดเจน หากสนใจขอให้ติดตามหาอ่านเพิ่มเติม แต่ครั้งต่อไปจะนำเสนอว่า จากความเข้าใจ ทั้ง ๖ ด้าน จะนำไปสู่การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น